เรื่องน่ารู้ ไม้แบบก่อสร้างและการทำแบบจากไม้

หากพูดถึงงานเทแบบในการก่อสร้างแล้วจะต้องมีการใช้ไม้ซื่งหนื่งในนั้นคงนี้ไม่พ้นไม้แบบสำหรับตีแบบอย่างแน่นอน ตามที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งไม้แบบก่อสร้างนั้น จะ
มีหลากหลายชนิดให้ได้เลือกใช้งานกัน ก่อนอื่น เราต้องมาทำความเข้าใจกับเรื่องของไม้แบบก่อนเป็นอันดับแรกว่า ไม้แบบคือ
ไม้ที่นิยมนำมาทำแบบส่วนใหญ่ก็จะมีจำพวก
-ไม้ เบญจพรรณ
-ไม้ เยลโล่
-ไม้ยางพารา
-ไม้ฉ่ำฉา
หน้าไม้ที่นำมาใช้งานก็มีหน้า6,8,10",และความหนา ของไม้ จะมีขนาด 1", 1-1/2", เป็นต้นความยาวก็ มีตั้ง1-400.ม
การจะเลือกใช้ไม้ชนิดและขนาดใดขึ้นอยู่กับตัวแบบและความสำคัญของแบบด้วยเช่นกัน ราคาก็จะแตกต่างกัน

เวลาที่ทำแบบ(ตีแบบ)ควรนำมาประกอบยึดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นกล่อง เป็นร่อง เพื่อให้สามารถวางเหล็ก (เส้น) เสริมตามแบบลงไปก่อนที่จะเทคอนกรีต ซึ่งไม้แบบนี้สามารถขึ้นรูปได้จากวัสดุหลายชนิด ดั้งเดิมเก่าแก่สุดจะใช้ไม้กระดาน (เบญจพรรณ) ซึ่งมักมีความหนาที่ 1” , 11/2” หน้ากว้างตั้งแต่ 6,8,10” นำมาตีประกอบเข้ากันเป็นแผง ไม้แบบมักไม่มีการเข้ารางลิ้นระหว่างกัน จึงจะมีช่องว่างระหว่างแผ่นไม้ที่ประกบยึดติดกันด้วยไม้โครง (ไม้ขนาด11/2” x 3”) และต้อง ยึดไม้แบบให้ตรึงแน่นหนาทั้งที่เป็นคานและเสา
เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีร่องรูรั่ว เช่น โคนไม้แบบเสา หรือริมเสา ข้างท้องคาน ซึ่งร่องเหล่านี้จะเป็นจุดที่น้ำปูนคอนกรีตสามารถไหลเล็ดรอดออกมาถ้าช่องว่างใหญ่เกินไป อีกจุดหนึ่งคือ ตรงที่ไม้แบบแนวตั้งมาบรรจบกับไม้แบบแนวนอน ซึ่งหากการตียึดจับด้วยโครงคร่าวไม่แข็งแรง รอยต่อ (ฉาก) จุดนี้ก็จะเป็นอีกจุดที่น้ำปูนไหลออกมาได้ 
ทำให้เวลาถอดแบบแล้วเห็นเป็นอาการท้องคานเป็นโพรง) หรือตรงที่ไม้แบบหัวคานไปบรรจบกับเสา หรือแม้แต่ตรงปลายไม้แบบที่จะหล่อเสา หากไม่สัมผัสกับพื้นอย่างแนบสนิท เวลาถอดแบบออกมามักจะเห็นเป็นอาการโคนเสาคอนกรีตไม่เต็ม (ที่ติดกับพื้นมีอาการเป็นโพรงอากาศ เห็นหินหรือเหล็กเสริมภายใน)